เกิดอะไรขึ้นในสมองด้านขวาของเด็กออทิสติก ?
Ref: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25698698
ในคนปกติ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคม การรู้ใจเขาใจเรา และเรื่องทฤษฎีจิต Theory of mind (TOM) เรียกรวมว่า “Mentalizing Network” หรือ “เครือข่ายจิตใจ”
เครือข่ายนี้กว้างมาก ประกอบด้วยสมองส่วนหน้า สมองด้านข้างทั้งขวาและซ้าย และสมองส่วนด้านใน ในรูปคือส่วนที่เป็นกรอบเส้นสีเขียว คิดง่ายๆว่าเป็นภาคตะวันออกทั้งหมด ที่มีหลายๆจังหวัดอยู่ในนั้น (DMPFC, MMPFC, VMPFC, RTPJ, LTPJ, RSTS, temporal lobe, posterior cingulate - ชื่อเต็มอยู่ด้านล่างนะครับ)
ในเด็กออทิสติกที่มีปัญหาด้านการเข้าสังคม การแยกแยะสถานการณ์ต่างๆว่าเป็นเรื่องปกติหรือผิดปกติในสังคม การเข้าใจตัวเองและเข้าใจผู้อื่น จะมีสมองเหล่านี้ทำงานน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะด้านขวา ซึ่งมีงานวิจัยมากกว่า 10 ฉบับรายงานมาก่อนหน้านี้
งานวิจัยนี้จะให้ดูเป็น “หนัง” ซึ่งจะซับซ้อนกว่างานวิจัยก่อนๆมากที่ให้ดูแค่รูป ดูคำ หรือฟังเสียง เหตุผลเพื่อเลียนแบบสถานการณ์ในชีวิตจริงมากขึ้น โดยให้เด็กออทิสติกที่สื่อสารรู้เรื่อง (high function autism) เข้าเครื่อง fMRI แล้วดูหนังเรื่องนึงนาน 20 นาที
โดยในหนังจะมีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึก มีมุมกล้องหลายมุม มีการเล่นมุขแปลกๆ และเก็บข้อมูลว่าฉากไหนที่เด็กดูแล้วรู้สึก “แปลกไปจากสังคมปกติ” มาลงเป็นคะแนนแล้วเอามาเชื่อมโยงกับภาพจากเอกซเรย์แม่เหล็ก fMRI
ผลปรากฏว่า ในเด็กปกติ (รูปบน) เมื่อมีฉากที่รู้สึก “แปลกไปจากส้งคมปกติ” สมองส่วนต่างๆใน Mentalizing Network จะทำงานมากขึ้นอย่างชัดเจน เห็นเป็นสีส้มแดงส้มเหลือง และมีสมองส่วนการมองเห็นที่ occipital lobe ด้านหลัง ด้วย
แต่ในเด็กออทิสติก (รูปล่าง) สมองทั้งเครือข่ายนี้ ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสมองด้านขวาบนลงมาถึงหูขวา (RTPJ, RSTS) ซึ่งตรงกับงานวิจัยก่อนหน้านี้กว่า 10 ฉบับ ว่า 2 จุดนี้สัมพันธ์กับปัญหาเรื่องการเข้าสังคมในเด็กออทิสติก
● สรุป
การรับรู้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องปกติหรือผิดปกติในสังคม การเข้าใจผู้อื่น การใช้ชีวิตในสังคมร่วมกันผู้อื่น ต้องใช้สมองส่วนหน้า สมองด้านข้าง (โดยเฉพาะด้านขวา RTPJ) สมองด้านหลัง ประสานงานร่วมกันทั้งเครือข่าย ซึ่งเด็กออทิสติกมีปัญหาว่าสมองส่วนนี้ทำงานน้อยกว่าปกติ ทำให้มีปัญหาด้านสังคม
จากงานวิจัยใน 10 ปีหลังนี้ พบว่า สมองไม่ได้ทำงานเป็น “จุด” เหมือนที่เราเคยเรียนอีกต่อไป แต่สมองทำงานเป็น “เครือข่าย” โยงใยกันทั่ว ดังนั้นการกระตุ้นแค่จุดๆเดียวไม่เพียงพอ ควรกระตุ้นเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมปัญหาทั้งหมด
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (#TMS) เป็นการแก้ปัญหาที่สมองโดยตรง เกิน 80% เราพบว่าเด็กๆเล่นกับคนอื่นๆดีขึ้น อ่านสีหน้าท่าทางดีขึ้น ยิ้ม หัวเราะ ตอบสนองกับคนอื่นๆมากขึ้น เข้าสังคมได้ดีขึ้น หลังการกระตุ้นประมาณ 10-20 ครั้ง
อย่าหวังพึ่ง TMS อย่างเดียวนะครับ มันเหมือนเป็นการขึ้นทางด่วน ต้องฝึกกิจกรรมบำบัด ฝึกพูด และรักษาวิธีอื่นๆร่วมด้วยนะครับ
●ชื่อเต็ม
DMPFC = dorsomedial prefrontal cortex
MMPFC = middle medial prefrontal cortex
VMPFC = ventromedial prefrontal cortex
RTPJ = right temporoparietal junction
LTPJ = left temporoparietal junction
RSTS = right superior temporal sulcus
fMRI = functional magnetic resonance imaging
TOM = Theory of Mind https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9...