Learning Disorder

ลูกเรียนไม่เก่ง เรียนไม่ทันเพื่อน อ่านไม่ออก คำนวณไม่ได้ 

ครูบอกน้องเป็น LD ทำไงดี ? 



LD คืออะไร อาการเป็นยังไง ?

LD = Learning Disorder คือปัญหาในการเรียนรู้ โดยเน้นด้านการอ่าน ฟัง เขียน คำนวณ

- ปัญหาด้านการฟัง แยกเสียงไม่ได้ สอนแล้วไม่เข้าหัว

- ปัญหาการอ่าน (Dyslexia) เห็นภาพไม่เหมือนเด็กปกติ จำตัวอักษรบางตัวไม่ได้ สะกดคำ อ่านช้า จับใจความไม่ได้

- ปัญหาด้านการเขียน (Dysgraphia) เขียนไม่ถูกต้องแม้ว่าจะรู้ เขียนสลับกัน เขียนแบบส่องกระจก




- ปัญหาการคำนวณ (Dyscalculia)​ คณิตศาสตร์ คำนวณไม่ได้ สับสนตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์

- พบได้ประมาณ 5-10% หมายความว่าในชั้นเรียน 50 คน จะมีเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียน 2-5 คน เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ชายมักมีปัญหาเรื่องการอ่าน การฟัง ผู้หญิงมักมีปัญหาเรื่องการคำนวณ ดูเผินๆเด็กเหมือนจะปกติ IQ อาจปกติ

- แต่มีเด็ก LD ส่วนน้อยที่ผู้ปกครองหรือครูรู้ว่าเป็น LD และได้รับการรักษาที่เหมาะสม เด็กส่วนใหญ่เข้าใจว่าเรียนไม่เก่ง หรือโดนหาว่าเด็กโง่ ทึ่ม


● สาเหตุคืออะไร ?

- สาเหตุจากเนื้อสมองมีพยาธิสภาพ อาจเป็นตั้งแต่เกิดหรือเป็นภายหลัง เช่น ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้สูง ชัก

- ในบางคนเนื้อสมองอาจปกติแต่การทำงานผิดเพี้ยนไป


● ปัญหาด้านการอ่าน Dyslexia ผสมคำ สะกดคำ เลือกใช้ภาษาไม่ถูก แต่พูดได้


- มักมีปัญหาสมองด้านซ้าย Left Parietotemporal lobes, occipito-temporal lobe โดยเนื้อสมองน้อยกว่าปกติ หรือการทำงานของสมองส่วนนี้ช้ากว่าปกติ (ตามรูป)


- ตัวเชื่อมสมองตรงกลาง corpus callosum ทำงานน้อยลง (เด็กๆที่หมอรักษาหลายคน             
ในเฟซบุคก็ไม่มีตัวเชื่อมกลางสมองนะครับ)




● ปัญหาในการคำนวณ Dyscalculia มักมีปัญหาที่สมองส่วนหน้า กลาง และหลัง f
ronto-parietal-visual cortex มีน้องคนนึงเป็นตาบอดสี เอามากระตุ้นที่สมองส่วนการมองเห็น ปรากฏว่าจากเดิมคำนวณเลขได้หลักร้อย เป็นคำนวณเลขได้หลักล้าน ภายในการกระตุ้น 3 ครั้ง


 ● ปัญหาด้านการเขียน Dysgraphia


ในคนปกติ ต้องใช้สมองเหล่านี้เวลาเขียนหนังสือ
สมองส่วนหน้า premotor cortex (dorsal & ventral)
สมองด้านข้าง parietal cortex (superior)
สมองด้านหลัง occipito-temporal cortex (fusiform gyrus )
สมองน้อยด้านล่าง cerebellum


ในเด็กที่มีปัญหาในสมองเหล่านี้ (เช่น เด็กออทิสติก, เด็กสมาธิสั้น, เด็ก LD, สมองฝ่อ ฯลฯ) จะทำให้การเขียนเป็นไปได้ยากมาก

● คลื่นแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) ช่วยยังไง ?


กระตุ้นสมองส่วนที่ทำงานน้อยหรือฝ่อ ให้ทำงานมากขึ้น ขึ้นอยู่กับสมองที่มีปัญหา


ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหมออยากเห็นภาพสแกนสมอง MRI หรือ CT เพราะอย่างน้อยมันก็ช่วยบอกตำแหน่งที่ผิดปกติได้ แต่ถ้าจะให้ดีเยี่ยมเลยคือทำ fMRI ซึ่งเป็นไปได้ยากในชีวิตจริง 


ที่ยุโรปเราจะใช้วิธีกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กควบคู่กับการฝึกไปพร้อมๆกัน


การกระตุ้นสมอง คือ hardware เหมือนเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ให้น้องแรงขึ้น
การฝึกเรียนรู้ คือ software เหมือนฝึกให้น้องขับรถเก่งขึ้น


ทุกวันนี้เรามักรักษาแค่การฝึกเรียนรู้ด้านที่น้องมีปัญหา ซึ่งช่วยได้ในระดับนึง และส่วนใหญ่เหนื่อยครู เหนื่อยพ่อแม่มากๆ


เมื่อเอาน้องมากระตุ้นคลื่นแม่เหล็กร่วมด้วย พบว่าช่วยขึ้นเร็วมาก เหมือนขึ้นทางด่วน จากประสบการณ์หมอ น้องจะเร็วขึ้นประมาณ 5-20 เท่า

 < อัพเดตบทความวิชาการ