Autism's cerebellum

เด็กออทิสติก มีต้นไม้ในสมอง น้อยกว่าเด็กปกติ 

นึกถึงภาพต้นไม้ที่ใหญ่มากๆ เหมือนต้นก้ามปูขนาดยักษ์ แตกกิ่งก้านสาขาไปแสนกิ่ง เซลล์ประสาทนี้เรียกว่า เพอร์คินจี้ Purkinje 




เซลล์นี้เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในสมอง เรียงตัวกันเป็นแนวต้นใม้ใหญ่ อยู่ตรงสมองน้อยด้านล่างที่เรียกว่า ซีรีเบลลั่ม Cerebellum 





กิ่งต้นไม้ของ Purkinje จะรับเอาข้อมูลมหาศาลหลายแสนจากสมองส่วนอื่นๆมาประมวลผล แล้วส่งสัญญานออกไปเพียงแค่เส้นเดียว เพื่อไปยับยั้ง ไปเบรค ไปปรับสมดุลของเซลล์ในสมองน้อย cerebellum อีกที ให้ smooth as silk


แต่ในเด็กออทิสติก ต้นไม้ Purkinje จำนวนน้อยกว่าปกติถึง 24-50% และการทำงานก็ช้ากว่าปกติอีก ทำให้การทำงานของสมองน้อยผิดเพี้ยนไปด้วย (รูป 3 สีแดงๆคือเส้นใยประสาท จะเห็นว่ารูปบนขวา เด็กปกติมีเส้นใยสีแดงเยอะกว่าเด็กออทิสติกรูปล่างขวา เกือบ 2 เท่า)



● สมองน้อยทำหน้าที่อะไรบ้าง ?


ที่เราเคยเรียนกันคือเรื่องการทรงตัว การเคลื่อนไหว ประสานงานกล้ามเนื้อ เรียนรู้การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ตีลังกา ฯลฯ


*** แต่สิ่งที่เราไม่ค่อยรู้คือ สมองน้อยยังควบคุมเรื่องการเรียนรู้ สมาธิ ภาษา อารมณ์ ความตกใจ การได้ยิน การฟังเสียง การออกเสียง การมองเห็น ความรู้สึกนึกคิดด้วย !


ดังนั้นในเด็กออทิสติกหรือเด็กที่สมองน้อยฝ่อไป จะทำให้มีปัญหาข้างบนได้ง่ายๆเลย การยับยั้งก็น้อยลง


แต่สมองมีการพัฒนาตัวเอง ปรับตัวเองได้ เรียกว่ามี plasticity ด้วย สมองมันยืดได้ หดได้เหมือนพลาสติก ดังนั้นการกระตุ้น TMS ที่สมองน้อยและสมองส่วนอื่นๆ + การฝึกฝนพัฒนาการ จึงสำคัญมากๆ ทำให้ต้นไม้ขยายกิ่งก้านสาขาได้มากขึ้น


< อัพเดตบทความวิชาการ