Brain fog after COVID & nTMS Engineer

Brain fog after COVID & TMS  

คนไข้ long-COVID Brain fog คิดช้าพูดช้า ความจำแย่ลง จำชื่อเพื่อนไม่ได้ เป็นมา 1 เดือน แชร์ประสบการณ์ฟื้นฟูหายขาดภายใน 2 ครั้ง



🟩 ประวัติ ตรวจร่างกาย
ผู้ชาย 34 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อ้วน อาชีพวิศวะกร เป็นโควิดลงปอดแต่ไม่รุนแรง ได้ออกซิเจน hi-flow รักษาอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ isoloate ต่ออีก 2 สัปดาห์
หลังหายจากโควิด คิดช้า พูดช้า คิดไม่ออกเหมือนหมอกบัง ใช้เวลาคิดคำพูด 10-30 วินาที จำชื่อเพื่อนสนิทไม่ได้ จำตัวเลขจำชื่อลูกค้าที่โทรมาไม่ได้ ทำงานลำบากมาก เป็นมา 1 เดือนกว่าๆ ไม่ดีขึ้น เริ่มมีภาวะซึมเศร้า
ตรวจร่างกายแล้วไม่เหมือนอัมพาต ไม่มีชาไม่มีอ่อนแรงใดๆ
ทดสอบสมองเบื้องต้น TMSE 29/30 ปกติ
ทดสอบภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น MoCA 27/30 ปกติ
แต่คนไข้ตอบสนองช้ามาก เฉลี่ย 10-20 วินาทีเมื่อเทียบกับคนปกติใช้เวลาไม่เกิน 2-4 วินาที
การรักษาก่อนหน้า: กินวิตามินหรืออาหารเสริมบำรุงสมอง ออกกำลังกาย ฝึกความจำยังไม่ดีขึ้น 1 เดือนกว่าๆ


🟩
ความรู้และงานวิจัย
จาก meta-analysis long-COVID พบว่าหลังเป็นโควิดคนไข้จะมีปัญหาความจดจ่อหรือความจำ (attention disorder, memory loss, brain fog, cognitive impairment ) ได้ถึง 27% คิดง่ายๆ 4 คนเจอ 1 คน
จากงานวิจัยอีกอัน ติดตามคนไข้หลังหาย 8 เดือนจำนวน 13,000 คน พบว่ามี 12% หรือประมาณ 1,500 คน ที่ยังมีอาการ พูดช้า จำช้า หรืออาการทางสมองอยู่
ถ้าเอาตัวเลขนี้มาคำนวน ประเทศไทยมีคนเป็นโควิด 1.7 ล้านคน จะมีคนที่มีปัญหาสมองหลังเป็นโควิด ถึง 2 แสนคน
คนไข้กลุ่มนี้ MRI brain, EEG, CSF มักปรกติ ไม่ค่อยเจออะไร
หลังๆพบว่าคนไข้หลังฉีดวัคซีนโควิด ก็มีอาการ brain fog ได้บ้าง แต่น้อยกว่าปัญหาหลังเป็นโควิด

สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ในเคสนี้
1- เชื้อโควิดหรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบกับระบบประสาท + systematic dysfunction, hypoxemia, metabolic disarragement, proinflammatory, cytokine storm ทุกอย่างเลยส่งกระทบกับสมอง
2- เวลาออกซิเจนหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จะส่งผลให้สมองใหญ่ cerebral cortex ขาดออกซิเจนก่อนเพราะเป็นสมองส่วนนอกสุด เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไกลสุด สมองใหญ่นี้ทำงานเก็บความจำ การพูดจา ความฉลาดด้วย
3- คลื่นสมองแกมม่าและบีตาทำงานลดลง ซึ่งคลื่นสมองนี้ทำงานเพื่อสื่อสารระยะไกลๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ทำให้สมองสองฝั่งสื่อสารกัน เรียกปัญหานี้ว่า long range underconnectivity
4- โควิดมีผลต่อสมองส่วน limbic, hypothalamus, ทำให้คนไข้ หงุดหงิดง่าย ปวดง่ายขึ้น มีปัญหาการนอนหลับ ระบบ autonomic เพี้ยนไป เพลียมากขึ้น สมองก็ toxic เยอะ
ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาเจาะจง มีแต่การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) หลายๆเคสก็หายได้เอง

🟩 การรักษา
เนื่องจากเคสนี้ลองรักษาแบบประคับประคอง มา 1 เดือนกว่า แต่ไม่ดีขึ้น จึงพิจารณาทำ nTMS
เหตุผลที่เคสนี้น่าจะตอบสนองต่อ nTMS ดี
1- เซลล์สมองยังดี ไม่ได้มีการบาดเจ็บ ไม่มีการอุดตันหลอดเลือด หรือการอักเสบรุนแรง ( functional impairement, not structure damage)
2- nTMS กระตุ้น cerebral cortex โดยตรง
3- nTMS สามารถเลือกใช้ความถี่ gamma, beta wave ที่เหมาะกับการเรียนรู้ ความจำ ภาษา ได้เจาะจง

ผลการฟื้นฟู
- nTMS 1 ดีขึ้น 80% ภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งความจำ การพูด ใช้เวลาคิดสั้นลงเหลือ 4-10 วินาที อารมณ์ดี คะแนนสมอง TMSE 30/30 MoCA 30/30
- nTMS 2 ดีขึ้น 100% ใช้เวลาคิด 2 วินาที

🟩 ข้อควรระวังและข้อจำกัด
1- เป็น case report, เคสอื่นอาจใช้เวลาฟื้นฟูนานหรือเร็วกว่านี้ ขึ้นกับความรุนแรง โดยเฉลี่ยทำ nTMS ภายใน 5 ครั้ง อาการดีขึ้น 50-100%
2- เทคนิคที่ใช้ใน nTMS ไม่เหมือนกับ rTMS ในโรคซึมเศร้า ไม่ใช่ว่าจะใช้เครื่องเหมือนกันแล้วทำได้เลย สมองแต่ละคนหลังโควิดไม่ได้เหมือนกัน ดังนั้นต้องทำแบบ personalised & precision medicine เพราะถ้าทำผิดก็อาจอันตรายได้ เช่น ถ้าคนไข้มีการอักเสบของสมองอยู่ ผลลัพธ์อาจแย่ ทำให้ปวดหัวมากขึ้น นอนไม่หลับ ชัก แต่จะมีวิธีประเมินเฉพาะอยู่


References: